ขนมทองหยิบ
ประวัติขนมทองหยิบ
ขนมทองหยิบ เป็นขนมหวานขื้นชื่อที่ นิยมรับประทานกันอีกชนิดหนึ่ง ความหวานของบขนมทองหยิบ แพร่หลายมาถึงปัจจุบันถือเป็นหนึ่งของร่องรอยที่ชาวโปรตุเกสทิ้งไว้
ท้าวทองกีบม้า หรือ มารี เดอร์ กีมาร์ ภริยาเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ขุนนางฝรั่งผู้มีบทบาทอย่างมากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งท้าวทองกีบม้านี่เองที่สอนให้คนไทยทำขนมเหล่านี้
“ท้าวทองกีบม้า” หรือ “มารี เดอร์ กีมาร์” เกิดเมื่อพุทธศักราช 2201 แต่บางแห่งก็ว่า พุทธศักราช 2209 โดยยึดหลักกับปีที่แต่งงานกับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ เมื่อปี พุทธศักราช 2225 ซึ่งขณะนั้น มารีมีอายุเพียง 16 ปี เท่านั้นเอง
บิดา ชื่อ “ฟานิก” (phanick) เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอล มารดาชื่อ “อุรสุลา ยา มาดา” (Ursala Yamada) ซึ่งมีเชื้อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ช่วงชีวิตหนึ่งของ
“ท้าวทองกีบม้า” ได้ไปรับราชการในสำนักพระราชวังตำแหน่ง “หัวหน้าห้องเครื่องต้น” ดูเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์และเก็บผลไม้เสวย มีพนักงานอยู่ภายใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน ซึ่งเธอทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ยกย่องเชิดชู
ระหว่างที่รับราชการนางมารีได้สอนการทำขนมหวานจำพวกทองหยอด ทองหยิบ ทองพลุ ทองโปร่ง ขนมผิง และอื่นๆ ให้กับคนไทยได้นำมาถ่ายทอดต่อมาแต่ละครอบครัวและกระจายไปในหมู่คนไทยมาจนถึงทุกวันนี้
ส่วนผสมขนมทองหยิบ
ไข่ไก่ 20 ฟอง
น้ำตาลทราย 1 กก.
น้ำลอยดอกมะลิ 2.5 ถ้วย
สิ่งที่ต้องเตรียม
ถาด, ถ้วยตะไล, ช้อน,ส้อม
วิธีทำ
1.ต่อยไข่ใส่ชาม แยกไข่ขาว ไข่แดง รีดเอาเยื่อออก แล้วตีไข่แดงให้ขึ้นฟู
2.ใส่น้ำตาล น้ำลอยดอกมะลิ ลงในกระทะทอง ตั้งไฟ พอเดือนและมีลักษณะข้น
3.เมื่อน้ำเชื่อมข้นได้ที่ ปิดไฟ ให้น้ำเชื่อมนิ่ง เริ่มตักไข่หยดลงทีละช้อน โดยหยอดนิ่งๆ ปล่อยไข่แดงไหลง แผ่นไข่ก็จะกลม หยอดจนเต็มกระทะ เปิดไฟ ให้น้ำเชี่อมเดือด ลดไฟลง คอยใช้ทัพพีตักน้ำเชื่อมราด พอขนมสุกฟู ใช้ส้อมตักใส่ถาดโดยอย่าให้ทับกัน พออุ่นหยิบเป็นจีบ 5 จีบ ใส่ถ้วยตะไล ทำจนหมด
**หมายเหตุ **
1. ถ้าไม่มีน้ำลอยดอกมะลิ ใช้ใบเตยต้มกับน้ำเชื่อมแทนก็ได้ เพราะช่วยดับกลิ่นคาวของไข่ได้
2. การตีไข่ ถ้าใช้เครื่องตีไข่จะสะดวกและเร็วกว่าการตีด้วยมือ
3. การแยกไข่ขาวกับไข่แดง ต้องแยกไข่ขาวออกให้หมด เพราะถ้ามีไข่ขาวก็จะทำให้ขนมทองหยิบแข็งกระด้าง ไม่น่ากิน
ขอบคุณประวัติขนมทองหยิบจาก thaigoodview.com/node/12013
ประวัติขนมทองหยิบ
ขนมทองหยิบ เป็นขนมหวานขื้นชื่อที่ นิยมรับประทานกันอีกชนิดหนึ่ง ความหวานของบขนมทองหยิบ แพร่หลายมาถึงปัจจุบันถือเป็นหนึ่งของร่องรอยที่ชาวโปรตุเกสทิ้งไว้
ท้าวทองกีบม้า หรือ มารี เดอร์ กีมาร์ ภริยาเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ขุนนางฝรั่งผู้มีบทบาทอย่างมากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งท้าวทองกีบม้านี่เองที่สอนให้คนไทยทำขนมเหล่านี้
“ท้าวทองกีบม้า” หรือ “มารี เดอร์ กีมาร์” เกิดเมื่อพุทธศักราช 2201 แต่บางแห่งก็ว่า พุทธศักราช 2209 โดยยึดหลักกับปีที่แต่งงานกับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ เมื่อปี พุทธศักราช 2225 ซึ่งขณะนั้น มารีมีอายุเพียง 16 ปี เท่านั้นเอง
บิดา ชื่อ “ฟานิก” (phanick) เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอล มารดาชื่อ “อุรสุลา ยา มาดา” (Ursala Yamada) ซึ่งมีเชื้อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ช่วงชีวิตหนึ่งของ
“ท้าวทองกีบม้า” ได้ไปรับราชการในสำนักพระราชวังตำแหน่ง “หัวหน้าห้องเครื่องต้น” ดูเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์และเก็บผลไม้เสวย มีพนักงานอยู่ภายใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน ซึ่งเธอทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ยกย่องเชิดชู
ระหว่างที่รับราชการนางมารีได้สอนการทำขนมหวานจำพวกทองหยอด ทองหยิบ ทองพลุ ทองโปร่ง ขนมผิง และอื่นๆ ให้กับคนไทยได้นำมาถ่ายทอดต่อมาแต่ละครอบครัวและกระจายไปในหมู่คนไทยมาจนถึงทุกวันนี้
ส่วนผสมขนมทองหยิบ
ไข่ไก่ 20 ฟอง
น้ำตาลทราย 1 กก.
น้ำลอยดอกมะลิ 2.5 ถ้วย
สิ่งที่ต้องเตรียม
ถาด, ถ้วยตะไล, ช้อน,ส้อม
วิธีทำ
1.ต่อยไข่ใส่ชาม แยกไข่ขาว ไข่แดง รีดเอาเยื่อออก แล้วตีไข่แดงให้ขึ้นฟู
2.ใส่น้ำตาล น้ำลอยดอกมะลิ ลงในกระทะทอง ตั้งไฟ พอเดือนและมีลักษณะข้น
3.เมื่อน้ำเชื่อมข้นได้ที่ ปิดไฟ ให้น้ำเชื่อมนิ่ง เริ่มตักไข่หยดลงทีละช้อน โดยหยอดนิ่งๆ ปล่อยไข่แดงไหลง แผ่นไข่ก็จะกลม หยอดจนเต็มกระทะ เปิดไฟ ให้น้ำเชี่อมเดือด ลดไฟลง คอยใช้ทัพพีตักน้ำเชื่อมราด พอขนมสุกฟู ใช้ส้อมตักใส่ถาดโดยอย่าให้ทับกัน พออุ่นหยิบเป็นจีบ 5 จีบ ใส่ถ้วยตะไล ทำจนหมด
**หมายเหตุ **
1. ถ้าไม่มีน้ำลอยดอกมะลิ ใช้ใบเตยต้มกับน้ำเชื่อมแทนก็ได้ เพราะช่วยดับกลิ่นคาวของไข่ได้
2. การตีไข่ ถ้าใช้เครื่องตีไข่จะสะดวกและเร็วกว่าการตีด้วยมือ
3. การแยกไข่ขาวกับไข่แดง ต้องแยกไข่ขาวออกให้หมด เพราะถ้ามีไข่ขาวก็จะทำให้ขนมทองหยิบแข็งกระด้าง ไม่น่ากิน
ขอบคุณประวัติขนมทองหยิบจาก thaigoodview.com/node/12013
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น