27 มิ.ย. 2553

กล้วยบวชชี



กล้วยบวชชี
กล้วยบวชชีเป็นขนมไทยพื้นบ้านที่หากินได้ง่ายๆ เราสามารถทำกินเองที่บ้านได้ไม่ยากเช่นกัน วิธีการก็ง่ายๆ ดังนี้

ส่วนผสม
กล้วยน้ำว้าสุกพอห่ามๆ 1 หวี
หัวกะทิ 1 ถ้วย
หางกะทิ 1 1/2 ถ้วย
ตาลทราย 1/2 ถ้วย
งาขาวคั่วบุบพอแตก 1 ช้อนโต๊ะ
ข้าวโพดต้มสุกหั่นบางๆ 1/2 ถ้วย
เกลีอป่น 1 ช้อนชา
ใบเตย 3 ใบ

วิธีทำกล้วยบวชชี
1. ต้มกล้วยทั้งเปลือกให้สุกประมาณ 20 นาที
2. ใส่หางกะทิลงในกระทะทอง ใส่ใบเตยที่หั่นเป็นท่อนๆ ใช้ไฟปานกลาง ต้มจนเดีอด
3. ปอกเปลือกกล้วยที่ต้มแล้ว ตัดให้เป็น 4 ชิ้น/ลูก จากนั้นนำไปใส่ลงในหม้อที่ต้มหางกะทิ ต้มต่อใช้เวลาประมาณ 5 นาที
4. ใส่น้ำตาลทรายลงไป คนให้น้ำตาลทรายละลาย ต้มต่อให้เดือด
5. เติมหัวกะทิ เกลือลงไป คนให้เข้ากัน ยกลงจากเตา
6. ตักกล้วยบวชชีใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยงาคั่ว ใส่ข้า้วโพดหั่นลงไป

***เคล็ดลับการทำกล้วยบวชชี
-การทำกล้วยบวชชีนั้น ต้องต้มกล้วยทั้งเปลือกก่อน กล้วยจะได้ไม่ดำ ทำให้แลดูน่ากิน
-งาที่จะใช้โรยหน้ากล้วยบวชชีนั้น จะเลือกใช้งาขาวหรืองาดำก็ได้ แต่คั่วแล้วให้บุบพอแตก งาจะได้หอมชวนกิน และกรอบอร่อย
-หลังจากใส่หัวกะทิแล้วต้องรีบยกลงจากเตาทันที จะทำให้กะทิขาวสวย น่ากิน

21 มิ.ย. 2553

ขนมไทย เอกลักษณ์ไทย

ขนมไทย
ขนมไทย เป็นขนมที่มีตั้งแต่สมัยโบราณ สืบทอดกันมากนานจากรุ่นสู่รุ่น ขนมไทยมีอยู่มากมายหลายชนิด เป็นวัฒนธรรมประจำชาติและเกิดจากภูมิปัญญา ขนมไทยจึงนับเป็นความภูมิใจของคนไทย ขนมไทยจะมีลักษณะสวยงาม กลิ่นหอม รสหวาน น่ารับประทาน ขนมไทยเป็นขนมที่ต้องใช้ความประณีตบรรจง ละเอียดลออในการทำเป็นอย่างมาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการทำ นอกจากนี้เกี่ยวข้องถึง
วัฒนธรรม ประเพณี ของไทยเราอีกด้วย โดยจะเห็นว่าเมื่อถึงช่วงเทศกาล งานบุญ งานมงคลต่างๆ คนไทยเรามักจะทำบุญ เลี้ยงพระ ด้วยขนมไทยที่ถูกจดขึ้นอย่างประณีต และสืบทอดกันมานาน และในขนมไทยแต่ละอย่างก็จะแฝงความหมายในทางที่เป็นศิริ มงคลทั้งสิัน เช่น งานแต่งงาน ขนมที่ใช้ในงานมักจะมี ขนมกง ขนมสามเกลอ ขนมชะมด งานพิธีฉลองเลื่อนขั้น ขนมที่ใช้จะเป็นขนมชั้น ขนมจ่ามงกุฎ ขนมทองเอก เป็นต้น

ขนมไทยต่างๆเหล่านี้ นอกจากจะมีความหมายในทางที่ดีแล้ว ยังเป็นขนมที่มีสีสันสวยงาม รสชาติอร่อย และประณีต การทำขนมไทยนั้นต้องอาศัยความชำนาญ ตั้งแต่การเลือกซื้อส่วนผสมต่างๆ เครื่องมือในการทำต้องรู้เทคนิคการทำ ซึ่งต้องใช้ความละเอียดอ่อน ความช่างสังเกต และการลง มือ ปฏิบัติ

ขนมไทยมีความละเอียดประณีต จนบางครั้งยากที่เทคโนโลยีสมัยใหม่จะเข้ามาทดแทนได้ เช่น การใช้กลิ่นร่ำควันเทียน การใช้น้ำด่างที่ทำจากขี้เถ้าถ่าน ใบตอง ไม้กลัด น้ำปูนใส กลิ่นหอมใบเตย การลอยดอกมะลิ หรือแม้กระทั่งสีดำที่ได้จากการเผากาบมะพร้าว
สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นเอกลักษณ์ของขนมไทยอย่างแท้จริง

ส่วนผสมของขนมไทยในสมัยก่อนมีอยู่ 3 อย่าง คือ แป้ง น้ำตาล และมะพร้าว ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักที่ขาดไม่ได้ ทั้ง 3 สิ่งนี้ถูกนำมาใช้ ซึ่งวิธีการทำที่อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง จึงเกิดขนม
ไทยมากมายหลายชนิด ต่อมาเมื่อไทยเราได้มีการติดต่อกับชาวต่างชาติ ก็ได้รับอิทธิพลการทำขนมบางอย่างทำให้มีการเพิ่มส่วนผสม จากเดิมเพียง 3 อย่าง ก็ได้มีไข่และส่วน
ผสมอื่นๆเพิ่มเข้ามาอีก เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมเหล่านีได้รับอิทธิพลมาจากชาวโปรตุเกส นอกจากนี้ยังมีขนมอีกหลายชนิด ที่ไม่ใช่ขนมไทย้ คนในสมัยนี้นึกเข้าใจผิดว่า
เป็นขนมไทยก็เนื่องมาจากการที่คนไทยเป็นคนช่างคิด ช่างดัดแปลง ทำให้ขนมเหล่านั้นถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจนมีลักษณะที่ไม่เหมือนต้นตำรับ และได้กลายเป็นขนมไทยเราไป
เช่น สังขยา ขนมหม้อแกง ทองหยอด ทำให้ขนมไทยมีมากมายหลายชนิดจนนับไม่ถ้วนเพราะขนมไทยมีความพิถีพิถัน ละเอียดอ่อนประณีตในการทำและด้วยความที่มีลักษณะเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ของตน
เอง ชนชาติอื่นๆจึงไม่สามารถลอกเลียนเเบบได้ ทำให้ขนมไทยไม่แพร่หลายกลายเท่าที่ควร เราเป็นคนไทยต้องรู้จักอนุรักษ์ขนมไทยเราไว้อย่าให้วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เหล่านี้สูญหายไป

8 มิ.ย. 2553

ขนมฝอยทอง


ขนมฝอยทอง
ขนมฝอยทองเป็นขนมหวานสัญชาติโปรตุเกตุ ที่คนไทยเข้าใจผิดมานาน ว่าเป็นขนมบ้านเรา แต่ขนมฝอยทองก้เป็นขนมที่ถุกปากคนไทยเพราะความหวานอร่อยจากน้ำตาลและไข่ไก่ มาดูส่วนผสมและวิธีการทำขนมฝอยทอง

ส่วนผสม
ไข่ไก่สดใหม่ 20 ฟอง
น้ำตาลทราย 5 ถ้วย
น้ำลอยดอกมะลิ 3 ถ้วย

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมเพิ่มเติม :ไม้ปลายแหลม กรวยใบตองหรือกรวยโลหะ

วิธีทำ
1.ต่อยไข่ไก่ใส่ชาม แยกไข่ขาวไข่แดงออกจากกัน รีดเอาเยื่อออก นำไข่แดงผสมกับไข่น้ำค้างใน อัตราส่วน ไข่แดง 3 ฟอง/ไข่น้ำค้าง 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน
2.กระทะทองตั้งไฟ ใส่น้ำตาล น้ำลอยดอกมะลิ น้ำตาลละลาย พอเดือดยกลง กรองด้วยผ้าขาวบางให้สะอาด นำขึ้นตั้งไฟอีกครั้ง เคี่ยวต่อไปเรื่อยๆจนมีลักษณะข้น
3.ใส่ไข่แดงที่ผสมไว้ (ข้อ1) ลงในกรวยสำหรับโรยไข่ แล้วโรยลงในน้ำเชื่อมจนเต็มกระทะทอง วิธีการโรยให้โรยแบบวนรอบกระทะ รอให้เดือดนาน 2 นาที ใช้ไม้
ปลายแหลมตักขึ้น พับให้เป็นแพเล็กๆ จัดเรียงใสกระจาดหรือกระด้งที่ปูรองด้วยใบตอง


**หมายเหตุ**
1.ไข่น้ำค้าง คือ ไข่ขาวใสๆที่ติดค้างอยู่กับเปลือกไข่ส่วนป้านซึ่งไข่แต่ละฟองจะมีอยู่ในปริมาณที่ไม่เท่ากัน
2.ไข่ที่ทำฝอยทองควรเป็นไข่ไก่ที่สดใหม่ จะทำให้เส้นฝอยทองกลมสวย เพราะถ้าเป็นไข่เก่าไข่แดงจะเหลวเพราะมีน้ำอยู่มาก ทำให้เส้นฝอยทองขาด วิธีแก้ไข ต้องลดปริมาณไข่น้ำค้างลงแล้วเพิ่มปริมาณไข่แดง
3.เทคนิคในการโรยฝอยทอง ควรใช้ไฟที่ร้อนมากขึ้นเฉพาะตรงกลางกระทะ เพื่อให้น้ำเชื่อมมีฟองตรงกลาง เมื่อโรยไข่ ฟองน้ำเชื่อมจะดันฝอยทองลอยไปอยู่ขอบกระทะ ซึ่งช่วยให้ไข่ที่โรยใหม่ไม่ทับกันนอกจากนี้เส้นฝอยทองที่ได้ยังกลมสวย

3 มิ.ย. 2553

ขนมทองหยิบ


ขนมทองหยิบ

ประวัติขนมทองหยิบ

ขนมทองหยิบ เป็นขนมหวานขื้นชื่อที่ นิยมรับประทานกันอีกชนิดหนึ่ง ความหวานของบขนมทองหยิบ แพร่หลายมาถึงปัจจุบันถือเป็นหนึ่งของร่องรอยที่ชาวโปรตุเกสทิ้งไว้

ท้าวทองกีบม้า หรือ มารี เดอร์ กีมาร์ ภริยาเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ขุนนางฝรั่งผู้มีบทบาทอย่างมากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งท้าวทองกีบม้านี่เองที่สอนให้คนไทยทำขนมเหล่านี้

“ท้าวทองกีบม้า” หรือ “มารี เดอร์ กีมาร์” เกิดเมื่อพุทธศักราช 2201 แต่บางแห่งก็ว่า พุทธศักราช 2209 โดยยึดหลักกับปีที่แต่งงานกับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ เมื่อปี พุทธศักราช 2225 ซึ่งขณะนั้น มารีมีอายุเพียง 16 ปี เท่านั้นเอง

บิดา ชื่อ “ฟานิก” (phanick) เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอล มารดาชื่อ “อุรสุลา ยา มาดา” (Ursala Yamada) ซึ่งมีเชื้อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ช่วงชีวิตหนึ่งของ

“ท้าวทองกีบม้า” ได้ไปรับราชการในสำนักพระราชวังตำแหน่ง “หัวหน้าห้องเครื่องต้น” ดูเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์และเก็บผลไม้เสวย มีพนักงานอยู่ภายใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน ซึ่งเธอทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ยกย่องเชิดชู

ระหว่างที่รับราชการนางมารีได้สอนการทำขนมหวานจำพวกทองหยอด ทองหยิบ ทองพลุ ทองโปร่ง ขนมผิง และอื่นๆ ให้กับคนไทยได้นำมาถ่ายทอดต่อมาแต่ละครอบครัวและกระจายไปในหมู่คนไทยมาจนถึงทุกวันนี้


ส่วนผสมขนมทองหยิบ

ไข่ไก่ 20 ฟอง
น้ำตาลทราย 1 กก.
น้ำลอยดอกมะลิ 2.5 ถ้วย

สิ่งที่ต้องเตรียม
ถาด, ถ้วยตะไล, ช้อน,ส้อม

วิธีทำ
1.ต่อยไข่ใส่ชาม แยกไข่ขาว ไข่แดง รีดเอาเยื่อออก แล้วตีไข่แดงให้ขึ้นฟู
2.ใส่น้ำตาล น้ำลอยดอกมะลิ ลงในกระทะทอง ตั้งไฟ พอเดือนและมีลักษณะข้น
3.เมื่อน้ำเชื่อมข้นได้ที่ ปิดไฟ ให้น้ำเชื่อมนิ่ง เริ่มตักไข่หยดลงทีละช้อน โดยหยอดนิ่งๆ ปล่อยไข่แดงไหลง แผ่นไข่ก็จะกลม หยอดจนเต็มกระทะ เปิดไฟ ให้น้ำเชี่อมเดือด ลดไฟลง คอยใช้ทัพพีตักน้ำเชื่อมราด พอขนมสุกฟู ใช้ส้อมตักใส่ถาดโดยอย่าให้ทับกัน พออุ่นหยิบเป็นจีบ 5 จีบ ใส่ถ้วยตะไล ทำจนหมด

**หมายเหตุ **
1. ถ้าไม่มีน้ำลอยดอกมะลิ ใช้ใบเตยต้มกับน้ำเชื่อมแทนก็ได้ เพราะช่วยดับกลิ่นคาวของไข่ได้
2. การตีไข่ ถ้าใช้เครื่องตีไข่จะสะดวกและเร็วกว่าการตีด้วยมือ
3. การแยกไข่ขาวกับไข่แดง ต้องแยกไข่ขาวออกให้หมด เพราะถ้ามีไข่ขาวก็จะทำให้ขนมทองหยิบแข็งกระด้าง ไม่น่ากิน


ขอบคุณประวัติขนมทองหยิบจาก thaigoodview.com/node/12013

2 มิ.ย. 2553

ทองหยอด


ทองหยอด
ส่วน ผสม .
ไข่ไก่ 20 ฟอง
แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วย

ส่วนผสมน้ำเชื่อมใส
น้ำตาลทราย น้ำ อย่างละ 3 ถ้วย
ใบเตยหั่นเป็นท่อนๆ 4-5 ใบ
ใส่น้ำตาล น้ำ ใบเตย ลงในหม้อ ตั้งไฟ พอเดือดและน้ำตาลละลาย ยกลง
กรอง ทิ้งไว้ให้เย็น ไว้สำหรับแช่ทองหยอด

ส่วนผสมน้ำเชื่อมข้น
น้ำตาลทราย 5 ถ้วย
น้ำ 2 .5 ถ้วย ใบเตยหั่นเป็นท่อน 4-5 ใบ
ใส่น้ำตาล น้ำ ใบเตย ลงในหม้อ ตั้งไฟ พอเดือดและน้ำตาลละลาย ยกลง
กรอง ทิ้งไว้ให้เย็น ไว้สำหรับหยอดทองหยอด

วิธี ทำ
1. ต่อยไข่ใส่ชาม แยกไข่ขาว ไข่แดง รีดเอาเยื่อออก
2. ตีไข่แดงให้ขึ้นฟู แบ่งไข่แดงมาผสมทีละถ้วย โดยตวงไข่แดงที่ตีขึ้นฟู 1 ถ้วย
ผสมแป้งข้าวเจ้า 1 /3 ถ้วย คนให้เข้ากัน หยุดลงในน้ำเชื่อมข้นที่เดือดพล่าน โดยใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลางปาดส่วนผสมออกจากถ้วย แล้วสะบัดลงในน้ำเชื่อม หยอดจนหมด รอจนสุก ตักขึ้นแช่ในน้ำเชื่อมใส เมื่อทองหยอดเย็นดี ตักขึ้น

****หมายเหตุ

1. น้ำเชื่อมขณะที่หยอดขนมจะต้องเดือดพล่าน มีฟองเต็มกระทะ จึงจะประคองให้ขนมทองหยอดได้รูปทรงอยู่ตัว
2. การผสมแป้งกับไข่แดงต้องคนให้เข้ากันจนเนื้อเนียน แต่อย่า คนให้นานเกินไป เพราะทำให้แป้งเหนียว
3. ขณะที่รอให้ขนมทองหยอดสุก ควรพรมน้ำไปทีละน้อย จนกว่าขนมทองหยอดจะสุก เพื่อไม่ใหัน้ำเชื่อมข้นเกินไป